Paper Submission
คำแนะนำสำหรับผู้ประสงค์ส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาชีพบัญชี
ข้อกำหนดหลัก
1. บทความที่จะลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาชีพบัญชีจะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่จากวารสารอื่น ๆ รวมถึงจะต้องเป็นบทความที่ไม่มีการคัดลอกข้อความหรือข้อมูลจากผลงานทางวิชาการของผู้อื่น การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
2. เนื้อหาและข้อมูลที่จะลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาชีพบัญชี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ๆ โดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการและคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
3. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ทีได้รับการลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาชีพบัญชี ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ (Editorial Policy)
วารสารวิชาชีพบัญชีประสงค์รับพิจารณาบทความวิชาการและบทความวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับด้านการบัญชี โดยมิได้จำกัดเพียงเฉพาะจากคณาจารย์ภายในคณะฯ หรือภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังเปิดกว้างสำหรับคณาจารย์ นักวิชาการ ผู้บริหาร นักธุรกิจ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปจากภายนอกด้วย ซึ่งทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่านก่อนเสมอ รวมถึงต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพทางด้านวิชาการและมีสาระประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างชัดเจน
ขอบเขตของวารสารวิชาชีพบัญชีจะครอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีทั้งส่วนรวมและส่วนย่อย (Macro & Micro Accounting) (อาจรวมถึงหัวข้ออื่น ๆ ที่ไม่กำหนดในที่นี้) เช่น
- การบัญชีการเงิน
- การบัญชีบริหาร
- การตรวจสอบภายใน
- การบัญชีภาษีอากร
- แม่บท / มาตรฐานการบัญชี
- การวิเคราะห์ปัญหาทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตของวิชาชีพบัญชี
-
หลักปฏิบัติที่สำคัญที่เหมาะสำหรับนักบัญชีทุกระดับ
ข้อกำหนดของบทความต้นฉบับ (Manuscript Requirements)
ผู้ที่ประสงค์จะส่งบทความจะต้องเขียนชื่อ-นามสกุล และตำแหน่งงานในสถานที่ทำงานหรือสถานศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งข้อมูลที่ติดต่อได้ไว้ในส่วนที่แยกออกจากบทความ บทความที่จะส่งไม่ควรมีความยาวเกิน 7,000 คำ และชื่อของบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรจะมีความกระชับและได้ใจความชัดเจน นอกจากนี้ผู้ส่งบทความจะต้องเขียนบทคัดย่อ (ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้ส่งบทความควรตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ต้นฉบับ เช่น ตัวสะกด วรรคตอน และความเหมาะสม ความสละสลวยของการใช้ภาษา รวมทั้งควรจะกำหนดประเภทของบทความให้ชัดเจนว่าเป็นบทความวิชาการหรือบทความวิจัย องค์ประกอบของบทความทั้ง 2 ประเภท ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.บทความวิชาการ หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนออย่างสมบูรณ์ และมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงมีการใช้ทฤษฎีวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ตามหลักวิชาการ โดยมีการสรุปประเด็น อาจเป็นการนำความรู้ กรอบแนวคิดและทฤษฎีจากแหล่งต่าง ๆ มาสังเคราะห์ โดยที่ผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการผ่านมุมมองของตนเองได้อย่างเด่นชัด และเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน
2.บทความวิจัย ควรให้มีการนำเสนอการวิจัยและผลที่ได้รับอย่างเป็นระบบโดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (สามารถมีหัวข้อหรือองค์ประกอบที่แตกต่างได้)
2.1 บทนำ (Introduction) ที่ครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัยพร้อมทั้งเสนอภาพรวมของบทความ
2.2 ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)
2.3 วิธีการวิจัย (Research Methodology) ที่สามารถอธิบายวิธีดำเนินการวิจัยรวมถึงการเก็บข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยอย่างชัดเจน
2.4 ผลการศึกษา (Research Finding)
2.5 อภิปรายและสรุปผลการวิจัย (Discussion/Conclusion)
2.6 เอกสารอ้างอิง (References)
การอ้างอิงเอกสาร (References) 
บทความทุกเรื่องที่ส่งเข้ามาพิจารณาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จะต้องมีการเขียนอ้างอิงเอกสารอื่นหรือเขียนแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในตอนท้ายของบทความ โดยให้เขียนอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และให้จัดอยู่ในรูปแบบ APA Style ซึ่งผู้ส่งบทความควรตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของการอ้างอิงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วารสารวิชาชีพบัญชีกำหนดอย่างเคร่งครัด (บทความเรื่องใดที่มีรูปแบบกา
การอ้างชื่อบทความในวารสาร
• หลักเกณฑ์
Surname, initial. (year). title. journal name, volume, page number.
(นามสกุล, ชื่อย่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ฉบับที่, เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.)
• ตัวอย่าง
Vivattanachang , D. & Supattarakul, S. (2013). The Earnings Persistence and the Market Pricing of Earnings and their Cash Flow and Accrual Components of Thai Firms. Journal of Accounting Profession, 25, 63-79.
การอ้างชื่อหนังสือ
• หลักเกณฑ์
Surname, initial. (year). title. place of publication: publisher.
(นามสกุล, ชื่อย่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.)
• ตัวอย่าง
Seksitkarn, A. (2011). Managerial Accounting. Bangkok: Thammasat Printing House.
** ส่วนการอ้างอิงปลีกย่อยอื่น ๆ สามารถดูตัวอย่างได้จาก
หลักเกณฑ์และรายละเอียดการอ้างอิงแบบ APA Style (จากหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
บทความที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์เผยแพร่จะต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (จำนวน 3 ท่าน) โดยจะมีกระบวนการดังต่อไปนี้
ผู้ที่ประสงค์จะส่งบทความเพื่อพิจารณาลงตีพิมพ์เผยแพร่กับวารสารวิชาชีพบัญชี กรุณาส่งไฟล์ต้นฉบับบทความ (Microsoft Word) โดย..
หมายเหตุ : ขอให้ผู้ส่งบทความหลีกเลี่ยงการใช้อีเมล์ hotmail และ yahoo ในการลงทะเบียนผู้เขียนบทความ เนื่องจากอาจไม่ได้รับอีเมล์แจ้งเตือนความคืบหน้าของบทความ (โดยในบางกรณี อีเมล์แจ้งเตือนจากวารสาร อาจไปอยู่ใน Junk Email)
กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ (Review Process)
1. กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้ส่งบทความทราบ เมื่อกองบรรณาธิการได้รับไฟล์ต้นฉบับบทความที่เรียบร้อย ครบถ้วน สมบูรณ์ตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ (ผู้ส่งบทความสามารถติดตามสถานะความคืบหน้าบทความของตน ได้ในระบบส่งบทความออนไลน์ (Online Journal Submission) ของวารสาร)
2. กองบรรณาธิการจะร่วมกันตรวจสอบหัวข้อและเนื้อหาของบทความ โดยจะพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร รวมถึงกองบรรณาธิการจะตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของบทความ โดยจะเน้นถึงประโยชน์ทั้งทางด้านทฤษฎีและเชิงการนำไปใช้ในด้านการบัญชีโดยรวม เป็นสำคัญ
3. ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรไม่ดำเนินการส่งบทความ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการกลั่นกรองต่อไป บรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาปฏิเสธการลงตีพิมพ์เผยแพร่ (Desk Reject) พร้อมแจ้งเหตุผลโดยสรุปและข้อเสนอแนะสั้น ๆ ให้ผู้ส่งบทความได้รับทราบ
4. ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรให้ดำเนินการส่งบทความ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการกลั่นกรองต่อไป บรรณาธิการจะทาบทามและจัดส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินคุณภาพโดยรวมของบทความ ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์เผยแพร่ได้หรือไม่ โดยในกระบวนการพิจารณากลั่นกรองนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบข้อมูลของผู้ส่งบทความ และผู้ส่งบทความจะไม่สามารถทราบข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-Blind Process)
5. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณากลั่นกรองบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินใจโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นหลัก ว่าบทความนั้น ๆ ควรได้ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาชีพบัญชี (Accept) หรือควรจะส่งคืนให้ผู้ส่งบทความนำไปแก้ไข/ปรับปรุงและส่งกลับมาเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง (Major/Minor Revision) หรือควรแจ้งปฏิเสธการลงตีพิมพ์เผยแพร่ (Reject)
การส่งบทความ (Paper Submission)
บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหาปกติให้พิมพ์ด้วยฟอนท์ TH Sarabun New ขนาด 14 Point เท่านั้น
(กรณีชื่อบทความ หัวข้อหลัก หัวข้อรอง ฯลฯ อาจพิจารณาใช้ตัวหนาและ/หรือขนาดฟอนท์ที่ใหญ่ขึ้นได้ตามความเหมาะสม)
โดยผู้สนใจส่งบทความ สามารถลงทะเบียนผู้เขียนบทความและ Log in เพื่อเข้าสู่ระบบส่งบทความออนไลน์ (Online Journal Submission) ของวารสารวิชาชีพบัญชี (ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ) ได้ที่..
ส่งบทความออนไลน์
** งดรับการส่งบทความใหม่เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ชั่วคราว เนื่องจากกำลังปรับปรุงพัฒนาระบบ OJS **