Journal of Accounting Profession [วารสารวิชาชีพบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์] - Editor Talk

Journal of Accounting Profession

TBS

Current Location : Home   Editor’s Talk

Search in Website:
Home

Editor’s Talk

Editor's Talk (From JAP No. 70)

Editor's Talk (From JAP No. 70)

Dear all readers.      

        What is the difference between the two terms when accountants involved with reporting both "facts" and "truth"? Facts are information or events that can be verified, proven, and confirmed based on evidence or documents, while truth refers to the state of things that correspond to reality according to feelings, beliefs or views of a person subjectively, morally, or experientially. Accountants must distinguish that we have the duty to report "facts" that can be verified by adhering to the Code of Conduct and Accounting Standards, and should not distort the information in the report from a personal perspective or any pressure from management.

        The collapse of the Office of the Auditor General of Thailand (NAO) building due to the earthquake in early 2025 is a clear example of the application of reporting "facts", i.e., facts related to this matter are the events that occurred, the impact, the insurance covered , the audit that followed. Statements such as "The building collapsed because of poor design due to corruption" or " The engineer worked loosely" are considered "truth" because they are only opinions/accusations. We still need to rely on the conclusions from the audit to be considered a "fact". In a crisis situation, accountants must adhere to the principle of reporting "facts" rather than "truths" in the form of opinions so that accounting records and reports are impartial, transparent, and verifiable.

 
 

Asst.Prof.Somchai Supphatada
Editor

บทบรรณาธิการ (จากวารสารวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 70)

เรียน ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน
 

       นักบัญชีเกี่ยวข้องกับกับการรายงานทั้ง “ข้อเท็จจริง” และ “ความจริง”  ทั้งสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร คำว่า ข้อเท็จจริง (Facts) คือ ข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่สามารถตรวจสอบ พิสูจน์และยืนยันได้ตามหลักฐานหรือเอกสาร ส่วนความจริง (Truth) หมายถึง สภาวะของสิ่ง ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามความรู้สึก ความเชื่อหรือมุมมองของบุคคลในเชิงอัตวิสัย ศีลธรรมหรือประสบการณ์ เราต้องแยกแยะว่า ตนมีหน้าที่รายงาน “ข้อเท็จจริง” ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณและมาตรฐานการบัญชี ไม่ควรให้ “ความจริง” จากมุมมองส่วนตัวหรือแรงกดดันใดจากผู้บริหารมามีผลต่อการบิดเบือนข้อมูลในรายงาน

       กรณีอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่กำลังก่อสร้างและถล่มลงมาจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อต้นปี พ.ศ. 2568 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการนำหลักการรายงาน “ข้อเท็จจริง” มาปรับใช้ กล่าวคือ ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ได้แก่ เหตุการณ์ที่เกิด ผลกระทบ จำนวนเงินที่ทำการประกันภัย การตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า มีปัญหาการทุจริตหรือไม่อย่างไร ส่วนข้อความเช่น “อาคารถล่มเพราะออกแบบไม่ดี” หรือ “วิศวกรทำงานหละหลวม” นั้นถือเป็น “ความจริง” เพราะเป็นความคิดเห็น/ข้อกล่าวหาเท่านั้น ยังต้องอาศัยผลสรุปจากการตรวจสอบจึงจะถือเป็น “ข้อเท็จจริง” ในสถานการณ์วิกฤต นักบัญชีต้องยึดหลัก “ข้อเท็จจริง” ไม่ใช่ “ความจริง” แบบความคิดเห็น เพื่อให้การบันทึกและการรายงานทางบัญชีเป็นกลาง โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้



ผศ.สมชาย ศุภธาดา
บรรณาธิการ



กรุณาดำเนินการสมัครสมาชิก เพื่อรับตัวเล่มวารสารฯ คลิ๊กที่นี่

Send to Friend